วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ล่องแก่งน้ำตกทีลอซู


การไหลของน้ำ (Gradient)

สามารถแยกได้เป็น 2 อย่าง คือ แก่ง (Rapid) ซึ่งน้ำจะไหลเร็วและแรงมาก แอ่ง (Pool) น้ำจะไหลช้าและมีความลึกมาก ปกติโดยทั่วไป บริเวณต้นแก่งน้ำ จะไหลเอื่อยและช้ากว่ากลางแก่ง หรือปลายแก่ง
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรรู้และนักล่องแก่งต้องคำนึงถึงก็คือ ความเร็วของกระแสน้ำใต้ผิวน้ำและระดับน้ำจะต่างกัน โดยช่วงต่ำ กว่าผิวน้ำลงไป กระแสน้ำจะค่อย ๆ ลดความเร็วลง
สำหรับความลาดเอียงของหินใต้น้ำ (River Bend) จะมีผลต่อความแรงของกระแสน้ำด้วย คือบริเวณที่ลึก น้ำจะไหล แรงกว่าบริเวณที่ตื้น และภายใต้กระแสน้ำอาจจะมีหินใต้น้ำที่มองไม่เห็น และเป็นอันตรายไม่น้อย คือต้นไม้ หรือกิ่งไม้ที่ล้ม ขวางน้ำ อาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกเรือ หรือตัวเรือได้

ร่องน้ำรูปตัววี (downstream V)

สายน้ำจะบีบตัวเข้าหากันเป็นรูปตัววี โดยมีโขดหินสองข้างขวางลำน้ำ ทำให้เกิด เป็นร่องน้ำระหว่างหินนั้น ควรบังคับหัวเรือให้ตรงตามร่องตัววีนั้น แต่อย่างไรก็ตาม นายท้ายเรือจะต้องตัดสินใจในการ แก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้าอีกครั้ง เพราะช่องทางที่ดีที่สุดที่เห็นนั้น อาจจะพัดนักผจญแก่งไปกระแทกกับหินก็ได้ร่องน้ำรูปตัววีคว่ำ ที่หันมุมแหลมเข้าหาเรานั้น จะเป็นอันตรายมาก เรืออาจจะกระแทกกับหิน หรือน้ำอาจดูดเข้าไปหา จนทำให้เรือ หรือตัวเรากระแทกกับแก่งหินได้

บนเส้นทางของสายน้ำเชี่ยวที่ไหลผ่านเกาะแก่งลงมา ก็คือ ป่าต้นน้ำอันสมบูรณ์ การเดินทางท่องธรรมชาติในรูปแบบ ของการล่องแก่ง จึงเป็นวิถีแห่งสายน้ำที่นอกเหนือจากภูมิประเทศอันงดงามของธารน้ำ ป่าเขา และสายน้ำตกแล้ว ยังจะ พบกับสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ ตั้งแต่พืชพรรณ นก แมลง ผีเสื้อ และปลา สิ่งเหล่านี้คือคุณค่าของการท่องเที่ยว ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม
ผืนป่าไม้ที่มักปรากฏอยู่สองฝั่งน้ำ มีทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังรวมทั้งป่าดิบชื้นที่เขียวชอุ่มตลอดปี ซึ่งจะสังเกตเห็น ไม้จำพวกยาง ไทร ตะเคียน สัก ประดู่ ตะแบก หมาก และหวายชนิดต่าง ๆ พืชพรรณไม้ที่เด่นสำหรับป่าเมืองไทยคือ ไม ้ไผ่ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น ไผ่หก ไผ่หนาม ไผ่ซาง เป็นต้น และบนคาคบไม้จะมีพืชอิงอาศัย เช่น กระเช้าสีดา กล้วยไม้ป่า ชนิดต่าง ๆ สำหรับบริเวณชายน้ำ จะพบกับไม้ริมน้ำ เช่น ต้นจิก ไคร้น้ำ ผักกูด ส่วนบริเวณริมผาหินปูนที่เป็นธารน้ำตกจะ เต็มไปด้วยมอส และตะไคร่น้ำ จะมีเฟิร์นก้านดำขึ้นปกคลุม

สายน้ำคือเส้นชีวิตของคนไทยที่ไหลหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ และที่มาของสายน้ำนั้น มักจะมาจากป่า ดงดิบอันชุ่มชื้น และไหลลงมาจากภูเขาสูงอันก่อให้เกิดธารน้ำที่ไหลแรงและกัดเซาะหุบเขาให้แคบและลึก ไม่มีที่ราบริม ฝั่งน้ำให้เห็นมากนัก ลักษณะหุบเขาในพื้นที่ต้นน้ำจะเป็นรูปตัววี ตามลำน้ำมักจะพบเกาะแก่งขวางอยู่ตามลำน้ำ และสาย น้ำตก สองฝั่งของธารน้ำมักเป็นหินล้วน ๆ ร่องน้ำแคบและตื้น ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และท้องน้ำมีแต่หินและกรวด เนื่องจากตะกอนละเอียด เช่น ดินและทรายถูกน้ำพัดพาไปหมด

กล้วยไม้ตามแถบน้ำตก

กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารี ที่สำรวจพบ ได้แก่

รองเท้านารีม่วงสงขลา


รองเท้านารีม่วงสงขลา

Paphiopedilum barbatum

ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีฝาหอย แต่ดอกมีสีม่วงเข้มกว่า

รองเท้านารีเหลืองพังงา


รองเท้านารีเหลืองพังงา

Paphiopedilum leucochilum

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2435 ถิ่นกำเนิดอยู่บนภูเขาหินปูนแถบฝั่งทะเล ในจังหวัดภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายกับรองเท้านารี “เหลืองตรัง” แต่รองเท้านารีเหลืองพังงาจะมีสีครีมออกเหลือง และที่กระเปาะมีจุดประเล็กๆ สีน้ำตาล

รองเท้านารีเหลืองกระบี่


รองเท้านารีเหลืองกระบี่

Paphiopedilum exul

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2435 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบเกาะพงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพังงา และจังหวัดชุมพร ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวไม่มีลาย ใบแคบและหนา ผิวเป็นมัน เส้นกลางใบเป็นรอยลึกรูปตัววี ก้านดอกแข็ง ดอกใหญ่ กลีบดอกนอกบนเป็นรูปใบโพธิ์กว้าง สอบตรงปลาย กลีบดอกสีขางไล่จากโคนกลีบ แนวกลางของกลีบเป็นสีเหลืองอมเขียวประด้วยจุดสีม่วง กลีบในสีเหลืองแคบและยาวกว่ากลีบนอก กระเปาะสีเหลืองเป็นมัน

รองเท้านารีสุขะกุล


รองเท้านารีสุขะกุล

Paphiopedilum sukhakulii

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2507 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดเลยบนยอดภูหลวง กล้วยไม้พันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีคางกบ แต่มีรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นกลีบสีเขียวมีจุดสีม่วงประปรายทั่วกลีบ ปลายกลีบดอกแหลม พื้นกลีบมีสีทางสีเขียวถี่ๆ ลายทางจากโคนดอกวิ่งไปรวมที่ปลายกลีบ กลีบในกางเหยียด ขอบกลีบมีขนเช่นเดียวกับบริเวณโคนดอก

รองเท้านารีอ่างทอง


รองเท้านารีอ่างทอง

Paphiopedilum angthong

ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหมู่เกาะบริเวณอ่าวไทย เช่น หมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ปลายใบมน ด้านบนสีเขียวคล้ำประลาย ด้านใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกยาวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กขนาดไม่สม่ำเสมอ การประจุดกระจายจากโคนกลีบ พื้นกลีบดอกสีขาว กลีบค่อนข้างหนา

รองเท้านารีเหลืองตรัง


รองเท้านารีเหลืองตรัง

Paphiopedilum godefroyae

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2419 ขึ้นตามโขดหิน ถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเกาะรัง จังหวัดชุมพร ลักษณะเด่น คือ ใบลาย ท้องใบสีม่วง ปลายมนคล้ายรูปลิ้น ก้านดอกสีม่วงมีขน ดอกโตสีครีมเหลือง กลีบนอกบนรูปกลม ปลายยอดแหลมเล็กน้อย กลีบในสองข้างกลมรี ปลายกลีบเว้า ประจุดลายสีน้ำตาลจางตรงโคนกลีบแล้วค่อยจางออกตอนปลาย ปากกระเปาะขาวไม่มีลาย

รองเท้านารีเมืองกาญจน์


รองเท้านารีเมืองกาญจน์

Paphiopedilum parishii

ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2402 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดกาญจบุรีและกำแพงเพชร เป็นกล้วยไม้อากาศเกาะอยู่ตามต้นไม้มีลักษณะเด่น คือ มีกลีบในคู่บิดเป็นเกลียวเป็นสายยาวกว่ากลีบนอกประมาณสามเท่าตัว

รองเท้านารีเหลืองปราจีน


รองเท้านารีเหลืองปราจีน

Paphiopedilum concolor

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2402 มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน อาจมี 2–3 ดอกบนก้านเดียวกันได้ กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่ พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็กๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอก ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนปลายเส้าเกสรเป็นแผ่นใหญ่

รองเท้านารีอินทนนท์


รองเท้านารีอินทนนท์

Paphiopedilum villosum

เป็นพันธุ์กล้วยไม้ที่พบเมื่อ พ.ศ. 2396 มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณแถบที่มีอากาศชื้นและอุณหภูมิต่ำ เช่น ดอยอินทนนท์ และภูเขาสูง ลักษณะของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวสม่ำเสมอทั้งใบ ไม่มีลาย โคนใบส่วนใกล้กับเหง้ามีจุดสีม่วงประปราย และค่อยๆ จางหายตรงส่วนปลายใบ ใบยาวบางและอ่อน เป็นรองเท้านารีที่มีเกสรตัวผู้ต่างจากชนิดอื่นคือ เกสรตัวผู้จับตัวรวมเป็นก้อนแข็งค่อนข้างใส มีสีเหลืองไม่เป็นยางเหนียว

น้ำตกโลก

น้ำตกอีกวาซู


น้ำตกอีกวาซู (Iguazu Falls) คำว่าอีกวาซู แปลว่า "สายน้ำอันยิ่งใหญ่" เป็นคำมาจากภาษากวารานี (Guarani)ชาวอินเดียนแดงเผ่าดั้งเดิม น้ำตกอีกวาซูตั้งอยู่บริเวณรอยต่อพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลกับประเทศอาร์เจนตินา เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และขึ้นชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลกโดยใหญ่กว่าน้ำตกไนแอการาประมาณ 30 เท่า อย่างไรก็ตามขนาดของน้ำตกใกล้เคียงกับน้ำตกวิกตอเรียในทวีปแอฟริกาน้ำตกอีกวาซูเกิดจากแม่น้ำอีกวาซูซึ่งไหลมาจากที่ราบสูงปารานา ตกจากขอบที่ราบสูงขนาดใหญ่ลงสู่พื้นที่ราบต่ำกว่า จึงกลายเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เป็นแนวยาวกว่า 4 กิโลเมตร สูงกว่า 269 ฟุต ประกอบด้วยน้ำตกน้อยใหญ่อีก 275 แห่ง ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคมปริมาณน้ำมีมากถึงกว่า 13.6 ล้านลิตรต่อวินาที แต่ในช่วงฤดูร้อน คือระหว่างเมษายนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำจะลดลงเหลือ 2.3 ล้านลิตรต่อวินาที บริเวณรอบ ๆ น้ำตกจะเกิดละอองน้ำอยู่ตลอดเวลาและมีเสียงดังไปไกลกว่า 24 กิโลเมตร บนฝั่งประเทศบราซิลจะมองเห็นน้ำตกได้ทั่วถึงและงดงาม แต่ทางฝั่งประเทศอาร์เจนตินาสามารถเข้าชมน้ำตกได้ใกล้กว่า

น้ำตกวิกตอเรีย


น้ำตกวิกตอเรีย (Victoria Falls) โมซิ-โอวา-ทุนยา (Mosi-oa-Tunya)หรือน้ำตกวิกตอเรียตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของประเทศแซมเบีย กับ ประเทศซิมบับเว เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ดร.เดวิด ลิฟวิงสโตนในปี ค.ศ. 1855 เพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชินีวิกตอเรีย น้ำตกวิกตอเรียเกิดจากแม่น้ำซัมเบซีซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนของสองประเทศ ตกลงมาสู่แอ่งลึก ซึ่งน้ำตกมีขนาดกว้างกว่า 1690 เมตร สูงประมาณ 60-100 เมตร

น้ำตกไนแอการา


น้ำตกไนแอการา (อังกฤษ: Niagara Falls ; ฝรั่งเศส: les Chutes du Niagara) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่หลายแห่งประกอบกัน ตั้งอยู่บนแม่น้ำไนแอการาทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ บนพรมแดนระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา น้ำตกไนแอการาประกอบด้วยน้ำตกสามแห่งที่แยกออกจากกัน คือ น้ำตกเกือกม้า (Horseshoe Falls บางครั้งก็เรียก น้ำตกแคนาดา) สูง 158 ฟุต, น้ำตกอเมริกาสูง 167 ฟุต, และน้ำตกขนาดเล็กกว่าที่อยู่ติดกัน คือน้ำตก Bridal Veil. แม้น้ำตกไนแอการาจะไม่สูงอย่างโดดเด่น แต่ก็กว้างมากน้ำตกไนแองการามีจุดชมวิวที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของทั้ง 2 ประเทศมานานกว่าศตวรรษแม่น้ำไนแอการาไหลมาจากทะเลสาบอีรีไหลผ่านน้ำตกไนแอการาลงสู่ทะเลสาบออนตาริโอ เมืองสองฝั่งของน้ำตกในสองประเทศนั้นเป็นเมืองแฝด โดยในฝั่งแคนาดาคือ ไนแอการาฟอลส์ ออนตาริโอ ส่วนในฝั่งสหรัฐอเมริกาคือ ไนแอการาฟอลส์ มลรัฐนิวยอร์ก

น้ำตกเอนเจล


น้ำตกเอนเจล (Angel Falls) น้ำตกเอนเจลตั้งอยู่กลางป่าดงดิบในประเทศเวซุเอลา เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในโลก สูงกว่าน้ำตกไนแอการา 18 เท่า มีความสูงกว่า 979 เมตร ซึ่งผู้ที่จะเข้าชมน้ำตกสามารถเข้าไปโดยทางเรือและเครื่องบินเท่านั้น ซึ่งชื่อน้ำตก มาจากนักบินชาวอเมริกัน จิมมี เอนเจล ผู้ค้บพบน้ำตกเป็นคนแรก เมื่อปี ค.ศ. 1935

ทีลอซู .. เป็นภาษากะเหรี่ยง ความหมายคือ น้ำตกอันยิ่งใหญ่ ซึ่งน้ำตกแห่งนี้ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ มีความสูง 200-300 เมตร สวยงามติดอันดับโลกทีเดียว น้ำตกทีลอซูอยู่ในเขตความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อ.แม่สอด ระยะทางห่างจากกรุงเทพ 668 ก.ม. ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เส้นทางสายเอเชีย จนถึง อ.เมือง จ.ตาก แล้วแยกเข้าสู่ อ.แม่สอด ตามเส้นทางหมายเลข 105 ซึ่งเป็นทางขึ้นลงเขาสลับกันไปเป็นระยะทาง 80 ก.ม. จนถึง อ.แม่สอด จากนั้นมุ่งสู่เส้นทางหมายเลข 1090 เป็นเส้นทางคดเคี้ยวกว่า 1,219 โค้ง ไปตามถนนลอยฟ้า เป็นเทือกเขาสูงชัน ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. จะถึงอุ้มผาง ซึ่งการจะไปยังน้ำตกทีลอซู นักท่องเที่ยวมักล่องเรือยาง ไปตามลำห้วยแม่กลอง นั่งชมธรรมชาติสองข้างทาง ผ่านจุดเด่นๆ เช่น น้ำตกทีลอจ่อ บ่อน้ำร้อน ผาเลือด ล่องธรรมชาติอีก 3-4 ชม. ก็ถึงท่าทราย ซึ่งจะเป็นจุดต่อไปยังน้ำตกทีลอซู เป็นระยะทางอีกประมาณ 12 ก.ม. ถ้าเป็นช่วงเดือน พ.ย. - พ.ค. สามารถเดินทางโดยรถขับเคลื่อนสี่ล้อได้ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางจากนั้นเดินเท้าเข้าไปยังน้ำตกอีกประมาณ 1.8 ก.ม. ก็จะถึงน้ำตกทีลอซู

ช่วงที่เหมาะแก่การไปทีลอซู


ไปน้ำตกทีลอซูช่วงไหนดีสุด-ไปช่วงต้นฝน มิ.ย. - ก.ค. สภาพเส้นทางที่ล่องเรือยางสวยมาก ต้นไม้เพิ่งออกใบใหม่สีเขียวสดป่าสวย น้ำตกพองาม-ไปช่วงกลางฝน ส.ค. - ต.ค. น้ำเยอะดี น้ำตกเต็มหน้าผา แต่ต้องเดินเข้าไป คนก็ไม่ค่อยมีเพราะไม่อยากเดิน-ไปช่วงหมดฝน พ.ย. - ธ.ค. สบายๆ ไม่ต้องเดิน นั่งรถถึงจุดพักแรม คนเยอะแต่น้ำเริ่มลดลง-ไปช่วงหนาวจนถึงเข้าหน้าร้อน ม.ค. - เม.ย. น้ำใสดี คนก็น้อย แต่น้ำก็น้อยนะ

การเดินทาง



การเดินทางสามารถทำได้ทั้งทางรถยนต์และโดยการล่องแพ เส้นทางรถยนต์นั้นให้ใช้เส้นทาง อุ้มผาง-แม่กลอง ใหม่-แม่จัน ถึงกิโลเมตรที่ 20 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางอีกประมาณ 26 กิโลเมตร ทางช่วงนี้ เป็นทางลำลอง จะต้องใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อ เท่านั้น และในฤดูฝนรถอาจเข้าไม่ได้ หรืออาจ ติดต่อ บริษัททัวร์ที่จัดล่องแพในอำเภออุ้มผาง ซึ่งมักจะรวมโปรแกรมเที่ยวน้ำตกทีลอซูอยู่ด้วย