วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ล่องแก่งน้ำตกทีลอซู


การไหลของน้ำ (Gradient)

สามารถแยกได้เป็น 2 อย่าง คือ แก่ง (Rapid) ซึ่งน้ำจะไหลเร็วและแรงมาก แอ่ง (Pool) น้ำจะไหลช้าและมีความลึกมาก ปกติโดยทั่วไป บริเวณต้นแก่งน้ำ จะไหลเอื่อยและช้ากว่ากลางแก่ง หรือปลายแก่ง
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรรู้และนักล่องแก่งต้องคำนึงถึงก็คือ ความเร็วของกระแสน้ำใต้ผิวน้ำและระดับน้ำจะต่างกัน โดยช่วงต่ำ กว่าผิวน้ำลงไป กระแสน้ำจะค่อย ๆ ลดความเร็วลง
สำหรับความลาดเอียงของหินใต้น้ำ (River Bend) จะมีผลต่อความแรงของกระแสน้ำด้วย คือบริเวณที่ลึก น้ำจะไหล แรงกว่าบริเวณที่ตื้น และภายใต้กระแสน้ำอาจจะมีหินใต้น้ำที่มองไม่เห็น และเป็นอันตรายไม่น้อย คือต้นไม้ หรือกิ่งไม้ที่ล้ม ขวางน้ำ อาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกเรือ หรือตัวเรือได้

ร่องน้ำรูปตัววี (downstream V)

สายน้ำจะบีบตัวเข้าหากันเป็นรูปตัววี โดยมีโขดหินสองข้างขวางลำน้ำ ทำให้เกิด เป็นร่องน้ำระหว่างหินนั้น ควรบังคับหัวเรือให้ตรงตามร่องตัววีนั้น แต่อย่างไรก็ตาม นายท้ายเรือจะต้องตัดสินใจในการ แก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้าอีกครั้ง เพราะช่องทางที่ดีที่สุดที่เห็นนั้น อาจจะพัดนักผจญแก่งไปกระแทกกับหินก็ได้ร่องน้ำรูปตัววีคว่ำ ที่หันมุมแหลมเข้าหาเรานั้น จะเป็นอันตรายมาก เรืออาจจะกระแทกกับหิน หรือน้ำอาจดูดเข้าไปหา จนทำให้เรือ หรือตัวเรากระแทกกับแก่งหินได้

บนเส้นทางของสายน้ำเชี่ยวที่ไหลผ่านเกาะแก่งลงมา ก็คือ ป่าต้นน้ำอันสมบูรณ์ การเดินทางท่องธรรมชาติในรูปแบบ ของการล่องแก่ง จึงเป็นวิถีแห่งสายน้ำที่นอกเหนือจากภูมิประเทศอันงดงามของธารน้ำ ป่าเขา และสายน้ำตกแล้ว ยังจะ พบกับสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ ตั้งแต่พืชพรรณ นก แมลง ผีเสื้อ และปลา สิ่งเหล่านี้คือคุณค่าของการท่องเที่ยว ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม
ผืนป่าไม้ที่มักปรากฏอยู่สองฝั่งน้ำ มีทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังรวมทั้งป่าดิบชื้นที่เขียวชอุ่มตลอดปี ซึ่งจะสังเกตเห็น ไม้จำพวกยาง ไทร ตะเคียน สัก ประดู่ ตะแบก หมาก และหวายชนิดต่าง ๆ พืชพรรณไม้ที่เด่นสำหรับป่าเมืองไทยคือ ไม ้ไผ่ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น ไผ่หก ไผ่หนาม ไผ่ซาง เป็นต้น และบนคาคบไม้จะมีพืชอิงอาศัย เช่น กระเช้าสีดา กล้วยไม้ป่า ชนิดต่าง ๆ สำหรับบริเวณชายน้ำ จะพบกับไม้ริมน้ำ เช่น ต้นจิก ไคร้น้ำ ผักกูด ส่วนบริเวณริมผาหินปูนที่เป็นธารน้ำตกจะ เต็มไปด้วยมอส และตะไคร่น้ำ จะมีเฟิร์นก้านดำขึ้นปกคลุม

สายน้ำคือเส้นชีวิตของคนไทยที่ไหลหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ และที่มาของสายน้ำนั้น มักจะมาจากป่า ดงดิบอันชุ่มชื้น และไหลลงมาจากภูเขาสูงอันก่อให้เกิดธารน้ำที่ไหลแรงและกัดเซาะหุบเขาให้แคบและลึก ไม่มีที่ราบริม ฝั่งน้ำให้เห็นมากนัก ลักษณะหุบเขาในพื้นที่ต้นน้ำจะเป็นรูปตัววี ตามลำน้ำมักจะพบเกาะแก่งขวางอยู่ตามลำน้ำ และสาย น้ำตก สองฝั่งของธารน้ำมักเป็นหินล้วน ๆ ร่องน้ำแคบและตื้น ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และท้องน้ำมีแต่หินและกรวด เนื่องจากตะกอนละเอียด เช่น ดินและทรายถูกน้ำพัดพาไปหมด

กล้วยไม้ตามแถบน้ำตก

กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารี ที่สำรวจพบ ได้แก่

รองเท้านารีม่วงสงขลา


รองเท้านารีม่วงสงขลา

Paphiopedilum barbatum

ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีฝาหอย แต่ดอกมีสีม่วงเข้มกว่า

รองเท้านารีเหลืองพังงา


รองเท้านารีเหลืองพังงา

Paphiopedilum leucochilum

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2435 ถิ่นกำเนิดอยู่บนภูเขาหินปูนแถบฝั่งทะเล ในจังหวัดภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายกับรองเท้านารี “เหลืองตรัง” แต่รองเท้านารีเหลืองพังงาจะมีสีครีมออกเหลือง และที่กระเปาะมีจุดประเล็กๆ สีน้ำตาล

รองเท้านารีเหลืองกระบี่


รองเท้านารีเหลืองกระบี่

Paphiopedilum exul

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2435 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบเกาะพงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพังงา และจังหวัดชุมพร ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวไม่มีลาย ใบแคบและหนา ผิวเป็นมัน เส้นกลางใบเป็นรอยลึกรูปตัววี ก้านดอกแข็ง ดอกใหญ่ กลีบดอกนอกบนเป็นรูปใบโพธิ์กว้าง สอบตรงปลาย กลีบดอกสีขางไล่จากโคนกลีบ แนวกลางของกลีบเป็นสีเหลืองอมเขียวประด้วยจุดสีม่วง กลีบในสีเหลืองแคบและยาวกว่ากลีบนอก กระเปาะสีเหลืองเป็นมัน